สมเด็จกัมมัฎฐาน
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
tintin เจ้ากรมพระสวย รังพระแชมป์ | |||||||||||||||
โดย
|
tintin | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
สมเด็จกัมมัฎฐาน |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระผงในตำนาน " สมเด็จกัมมัฏฐาน " ======================================== พระสมเด็จ(ชิ้นฟัก)รูปเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์ใหญ่สายกัมมัฏฐาน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จัดสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2515 โดย กลุ่มนายทหารโรงเรียนจ่าอากาศ และศิษย์ทหารอากาศ นำโดย นอ.จำรัส นอ.ดุสิต และนอ.สงวน ซึ่งถือเป็นศิษย์ทหารอากาศที่ศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของพระเถระสายกัมมัฎฐาน ศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น จึงได้มีการรวบรวมมวลสารต่างๆ จากพระเถระเหล่านี้ รวมทั้งสิ้น 16 องค์มาใช้ เป็นมวลสารในการสร้างพระสมเด็จในครั้งนี้ เช่น เส้นเกศา จีวร ข้าวก้นบาตร ชานหมาก ดอกไม้ที่บูชาพระ น้ำพระพุทธมนต์ หญ้าคาและไม้มะยมที่ใช้ประพรมน้ำมนต์ โดยได้นำมวลสารต่างๆ มาบดผสมกันคลุกเคล้ากับผงสีขาว ทำให้ได้ส่วนผสมที่มีคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่เหมือนใคร มวลสารที่นำมาใช้ต้องใช้เวลาในการรวบรวมที่นานและยากลำบาก เมื่อกดพิมพ์พระแห้งดีแล้วจะปรากฏความแกร่งและนุ่มตาอย่างประหลาด มีน้ำหนักและความหดย่นพอประมาณ มีความเหนียวความแกร่งในตัวเอง ผิวและเนื้อของพระแต่ละองค์จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย คือมีเนื้อแบบขาวขุ่นและแบบขาวค่อนข้างใส แบบขาวขุ่นเนื่องจากแก่ผง ส่วนขาวใสคล้ายเนื้อเทียนและสีผึ้ง ความหดตัวเอาแน่นอนไม่ได้ เนื้อขาวใสส่วนใหญ่พระจะบิดตัวมากกว่าเนื้อขาวขุ่น ขนาดขององค์พระอยู่ที่ความกว้าง 2.4-2.6 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5-3.7 ซ.ม. หนา ประมาณ 0.5-0.6 ซ.ม. พระส่วนมากจะมีเส้นเกศา จีวร โผล่ให้เห็นในองค์พระ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังองค์พระ รายละเอียดและลักษณะขององค์พระสมเด็จกัมมัฏฐาน คือ มีรูปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในกรอบเส้นนูนด้านบน มีพุ่มใบโพธิ์และก้านโพธิ์ จรดขอบเส้นนูนด้านข้างทั้งสอง ใต้พุ่มโพธิ์มีกลดที่กางและรวบชายด้านล่างไว้มีรูป พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นั่งทำสมาธิบนอาสนะมีผ้าสังฆาฎิพาดบ่ามือข้างซ้ายซ่อนอยู่ในจีวร แขนด้านขวาแสดงรายละเอียดของกล้ามเนื้อชัดเจน ที่อาสนะด้านข้างซ้ายมือมีกาน้ำวางอยู่หนึ่งใบ ด้านขวามือมีบาตรพร้อมที่รอง อันเป็นอุบายของผู้สร้างจะแสดงให้รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นคือ อัฐบริขาร เครื่องใช้สอยที่จำเป็นของพระป่า ใต้แนวอาสนะมีอักษรตัวนูนว่า สมเด็จกัมมัฏฐาน ด้านหลังของพระสมเด็จกัมมัฏฐาน มีเส้นนูนเป็นกรอบสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกับด้านหน้า มีวงกลมขนาดพอดีกับกรอบโดยเหลือเนื้อที่ไว้ไม่ติดกับกรอบเส้นนูน พอสวยงาม ภายในวงกลมทำเส้นตารางเหมือนที่ทางโหรใช้ และในตารางช่องดวงมีอักขระประจำทุกช่อง มีอยู่ 9 ช่อง คือยันต์กลตราม้าหมากรุก 9ช่องนั้น จะอ่านแนวใดก็ได้แนวทะแยงแนวนอนขึ้นหรือลงก็ลงตัวหมด อักขระ อ่านได้ดังนี้ กะ กิ กุ กิ กุ กะ กุ กะ กิ เป็นคาถาแม่ไก่กุ๊กลูก เด่นทางด้านเมตตามหานิยม คาถาแม่ไก่กุ๊กลูกคือ เวลาแม่ไก่จะเรียกลูก แม่ไก่จะใช้ปากจิก ไปที่ของแข็งเพื่อให้เกิดเสียงเมื่อลูกไก่ได้ยินเสียงก็จะมาตามเสียงนั้น ตัวอักขระนี้ส่วนมากจะใช้แถบสกลนครใต้วงกลมมีอักษรตัวลึกจมเขียนว่า รุ่นแรก ถัดมาอีกบรรทัดมีอักษรตัวจมลึกเช่นกันเขียนว่า รร.จอ. และ 2515 เป็นตัวเลขไทย (รร.จอ. หมายถึง โรงเรียนจ่าอากาศ) พระคณาจารย์และพระเถราจารย์ที่ได้ให้วัตถุมงคลต่างๆ มาสร้างเป็นองค์พระสมเด็จกัมมัฏฐาน ต่างเป็นผู้แผ่เมตตาจิตให้กับพระสมเด็จกัมมัฏฐานเมื่อพิมพ์แล้วเสร็จให้อีกครั้ง โดยการรวบรวมมวลสาร และจัดทำแม่พิมพ์ มาตั้งแต่ก่อนปี 2515 โดยเริ่มกดพิมพ์พระกลางปี 2515 ซึ่งการรวบรวมวัตถุมงคลต่างๆ จากพระเถระทั้ง 16 องค์ต้องใช้เวลาและความศรัทธาความเสียสละที่ต้องเผชิญกับความลำบากในการบุกบั่นที่จะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งอยู่ตามถ้ำและป่าเขาในจังหวัดภาคอีสานและภาคเหนือ อีกทั้งพระเถระบางองค์ ไม่ได้พำนักอยู่ที่เดิม เพราะจาริกบำเพ็ญธรรมเรื่อยก็จำต้องติดตามไปจนกว่าจะพบ และได้มาซึ่งความปรารถนาบางประการ ถึงจะพบความยากลำบากเพียงใดก็ตามผู้ดำเนินการแต่ละท่านก็หาได้ย่อท้อถอยต่อการประสบการณ์นั้นไม่ คงก้มหน้าประกอบกรรมดีในการสร้างพระสมเด็จกัมมัฏฐานจนแล้วเสร็จเป็นตัวเลขที่จงใจให้จดจำคือ 108 องค์ รายนามพระเถระที่มอบวัตถุมงคลและได้แผ่เมตตาจิตให้กับผู้ดำเนินการสร้างพระสมเด็จกัมมัฏฐานในครั้งนั้นได้แก่ 1. พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั้ง จังหวัดเชียงใหม่ 2. พระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม ขณะนั้นจำพรรษาที่จังหวัดเชียงใหม่ 3. พระอาจารย์ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ 4. พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน จ.เลย 5. พระอาจารย์ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี 6. พระอาจารย์หลุย ฉันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย 7. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร (มอบเกศาและข้าวก้นบาตร 1 ก้อนใหญ่) 8. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ จ.อุดรธานี 9. พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาละวัน จ.อุดรธานี 10. พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี 11. พระอาจารย์เทสก์ เทศน์รังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย 12. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโธ ภูทอก จ.หนองคาย 13. พระอาจารย์คำดี ประภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย 14. พระอาจารย์ซามา อจุตโต จ.เลย 15. พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ 16. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร การที่ผู้สร้างได้นำรูป พระอาจารย์มั่น มาสร้างเป็นสมเด็จกัมมัฏฐาน ได้เป็นที่พอใจแก่พระเถระทั้งหลายที่ร่วมเมตตาอธิษฐานจิตอุทิศกุศลกรรมให้แด่พระอาจารย์ของท่านด้วย ทั้งเป็นการสมควรที่จะได้ประกาศความดีมีคุณธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่เป็นปรมจารย์ในด้านการปฏิบัติวิปัสนากัมมัฏฐาน สายสำคัญทางภาคอีสานสายนี้ ให้เป็นที่เคารพสักการะบูชากันสืบไปอีกทางหนึ่งด้วย สำหรับพุทธคุณและประสบการณ์ ของพระสมเด็จกัมมัฏฐานที่ผู้มีไว้ติดตัวบูชา ดีเด่นทางความเจิญรุ่งเรือง มีความร่มเย็นเป็นที่รักใคร่แก่คนทั้งปวง คือให้ความเมตตามาก การประสบกับผองภยันตรายนั้น ผู้ที่มีสมเด็จกัมมัฏฐานจะมีความแคล้วคลาดเป็นเลิศ นับว่าเป็นพระที่มีพระพุทธานุภาพเฉกเช่นนามเดิมของพระพิมพ์นี้ แต่ราคาและความนิยมในการเสาะหาคงมิอาจเทียบได้ยกเว้นเสียว่าผู้ที่ปรารถนาจะได้สมเด็จกัมมัฏฐานไว้คุ้มครองติดตัว ศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ในพระเถระสายนี้อย่างยอดยิ่ง จึงจะมีโอกาสได้รับพระไปจากผู้ดำเนินการสร้าง โดยมิต้องจ่ายค่าเช่าพระสมเด็จกัมมัฏฐานนี้แม่แต่บาทเดียว ทั้งๆ ที่ผู้สร้างได้หมดทุนทรัพย์ เวลา และสิ่งอื่นๆ ไปเป็นจำนวนไม่น้อยเลย (ที่มา : รัตนพิมพ์ รสวรรณ และ คุณลุงจำรัส อดีตพระเลขาท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร). ========================================ขอขอบคุณ คุณป้อม ท่าพระจันทร์ ที่ได้เรียบเรียงและนำข้อมูลทรงคุณค่ามาเผยแพร่ |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
- | |||||||||||||||
ID LINE
|
cys_porn หรือ บันทึกเบอร์ 0812633450 ก็ขึ้นไลน์ครับ | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
2,830 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ยังไม่ส่งข้อมูล
|
|||||||||||||||
|